top of page
รูปภาพนักเขียนMW

มันคือฝุ่น PM2.5 ที่คนทั้งประเทศกลัวกันจริง ๆ หรือ?

อัปเดตเมื่อ 21 มิ.ย. 2564

คำเตือน: บทความนี้ไม่เหมาะสำหรับคนขวัญอ่อน ตื่นกลัวอะไรง่าย


วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่ค่า PM2.5 (Particulate Matter 2.5) ขึ้นสูงทั่วกรุงเทพตั้งแต่เช้า คนที่ไม่มีเครื่องวัด PM2.5 อยู่กับตัว ก็คงจะได้รับทราบผ่านคนรอบตัว จากกรุ๊ปแชท หรือจากฟีดของเพื่อน


ด้วยความสงสัยในเรื่องที่คนเขาตื่นเต้นกัน ก็เลยเริ่มมาคิดว่า เอ๊ะ วงจรชีวิตของฝุ่น PM2.5 ที่เขาฮือฮากันดังค่า AQI (Air Quality Index) ที่ปรากฎนี่มันเป็นยังไงนะ ถ้ามันเป็นฝุ่นจริงที่อยู่ในอากาศ มันก็ควรจะอยู่แบบนั้นไปตลอดจนกว่า(พวก)เราจะทำอะไรบางอย่างเพื่อกำจัดมันออกไปสิ แล้วทำไมจากที่เราเห็นกัน บทมันจะมาก็มา บทมันจะไปก็ไป? ทำไมค่ามักจะสูงในตอนเช้า และเบาลงในตอนบ่ายหรือบางทีก็หายไปเลย?


เวลาฝุ่น PM2.5 มีค่าสูงเราอธิบายว่ามันมาจากท่อไอเสีย งานก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม (ซึ่งกรุงเทพฯไม่ค่อยมี) ถ้าเป็นอย่างนั้นเวลาตัวเลขมันไม่ขึ้นสูงปรี๊ดแบบนี้เจ้าฝุ่นมันหายไปไหน? อย่าหาว่ายียวนกวนประสาท ช่วงนี้คน WFH กันเยอะ รถน้อยถนนโล่งแม้กระทั่งวันเสาร์ บวกกับเศรษฐกิจชลอตัว งานก่อสร้างชลอตาม ฝุ่นจากที่ไหนจะที่มาทำให้ค่า PM2.5 พุ่งสูงขนาดนี้?

ค่า AQI ในกรุงเทพฯ วันที่ 16 มค. 64 เวลา 08:00 น
ค่า AQI ในกรุงเทพฯ วันที่ 16 มค. 64 เวลา 08:00 น

แบบนี้มันคือฝุ่นร้ายที่เรากลัวขยาดแขยงกันจริง ๆ หรือ?


สิ่งที่จะนำเสนอในบทความนี้อาจจะขัดกับสิ่งที่คุณเชื่อหรืออยากเชื่อ

แต่ (Re)think อยากขอชวนให้คุณลองคิดกันดูอีกทีครับ

 

มาทำความเข้าใจก่อนว่าเครื่องตรวจวัดค่า PM 2.5 นี้ทำงานอย่างไร


เครื่องตรวจวัดค่า PM2.5 หลายๆรุ่นอาจจะมีการทำงานแตกต่างกันไปในละเอียด แต่หลักการทำงานของมันจะยังคงอยู่ในรูปแบบเดียวกันนี้ คือ

หลักการทำงานของเครื่องตรวจจับ PM2.5
หลักการทำงานของเครื่องตรวจจับ PM2.5
  1. มีพัดลมตัวน้อย*ดูดตัวอย่างอากาศรอบ ๆ เข้ามาสู่ท่อในตัวเครื่อง

  2. มีเลเซอร์ฉายขวางท่อนั้นอยู่ และมีตัวรับเลเซอร์อยู่อีกฝั่งหนึ่ง

  3. จากนั้นเครื่องจะนำค่าที่ตัวรับเลเซอร์รับได้ไปคำนวณ เพื่อหาว่ามีอนุภาคขนาด 2.5 ไมครอน (2.5μm) หรือที่เราเรียกว่า PM2.5 อยู่ในตัวอย่างอากาศนั้นมากน้อยแค่ไหน

  • หากตัวอย่างอากาศที่เข้ามาในท่อมีฝุ่นอยู่น้อย ตัวรับเลเซอร์อีกฝั่งหนึ่งจะตรวจจับความเข้มของเลเซอร์ได้ดี เพราะมีการกระเจิงของแสงน้อย

  • หากตัวอย่างอากาศที่เข้ามาในท่อมีฝุ่นอยู่มาก ตัวรับเลเซอร์อีกฝั่งหนึ่งจะตรวจจับความเข้มของเลเซอร์ได้น้อย เพราะมีการกระเจิงของแสงมาก

*สำหรับท่านที่มีเครื่องตรวจวัดค่า PM2.5 ขนาดพกพาอยู่กับตัว ลองเล่นดูได้โดยนำเครื่องมาแนบที่หูแล้วกดเปิดเครื่อง ท่านจะได้ยินเสียงพัดลมหมุนติ้ว ๆ และลองกดเพื่อปิดเครื่อง เสียงนั้นจะหายไป


นอกจากนั้น เครื่องตรวจจับ PM2.5 นี้โดยมากจะตรวจวัด PM10 หรืออนุภาคขนาด 10 ไมครอน (10μm) ด้วย จากนั้นจึงนำค่าที่ได้ไปคำนวณหา AQI และแสดงผลให้เรารับทราบอีกที


ด้วยหลักการนี้ เครื่องนี้ใช้ตรวจวัดอนุภาค PM2.5 และ PM10 ในอากาศจริง แต่มันไม่ได้บอกว่าอนุภาคนั้นคืออะไร เราควรจะตกใจกลัวหรือไม่


เรื่องสนุกเพิ่งเริ่มขึ้นครับ

 

ขนาดของฝุ่น PM2.5 กับ ขนาดของหมอกไม่ต่างกัน


เรารู้แน่ ๆ ว่าผู้ร้ายของเรื่องนี้คือฝุ่น PM2.5 ซึ่งมาจากท่อไอเสีย งานก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม แม้กระทั่งควันไฟ ที่แม้จะอาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์มาช้านาน แต่วันนี้เรากลับบอกว่ามันเป็นอันตรายร้ายแรงมาก ๆ 🙄


ทีนี้ มันดันมีพี่อีกคนหนึ่งที่มีขนาดอนุภาคไล่เลี่ยกับพี่ผู้ร้ายข้างบนก็คือ หมอก


ใครที่ไม่แน่ใจว่าหมอกคืออะไร ลองพิจารณาคำนิยามนี้จาก wiki ครับ

หมอก (อังกฤษ: fog) คือกลุ่มละอองน้ำที่ลอยตัวอยู่ในระดับต่ำเหนือพื้นดิน ซึ่งเมฆบางครั้งก็ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของหมอก

แล้วหมอกเกิดขึ้นมาได้อย่างไรล่ะ

โดยปกติจะเกิดเมื่อมีความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับใกล้กับ 100 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้หมอกยังสามารถก่อตัวขึ้นจากการเกิดความชื้นขึ้นมากมายในอากาศ หรืออุณหภูมิของอากาศในบริเวณโดยรอบลดลงอย่างรวดเร็ว

แปลเป็นภาษามนุษย์ก็คือ ถ้าในบริเวณหนึ่งอากาศมีความชื้นสูงและในขณะเดียวกันอุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว จะเกิดหมอกขึ้นในบริเวณนั้น


ช่วงเวลาหน้าหนาว แม้จะไม่ค่อยหนาว แต่อุณหภูมิในบ้านเราก็จะลดลงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งปี โดยเฉพาะในตอนเช้ามืดถึงรุ่งสางจะเป็นช่วงเวลาที่อุณหภูมิต่ำที่สุดของวัน

อุณหภูมิในแต่ละวันของกรุงเทพฯ วันที่ 11 - 16 มค 64
อุณหภูมิในแต่ละวันของกรุงเทพฯ วันที่ 11 - 16 มค 64

เรื่องมันสนุกขึ้นตรงที่ ขนาดของละอองน้ำฝอย ๆ ที่รวมตัวกันเป็นหมอกเนี่ย มันดันมีขนาดใกล้เคียงกับฝุ่นละเอียด และควันพิษร้ายขนาด PM10


จากเวปไซต์ Atmospheric Optics ได้ระบุว่า

Cloud, fog and mist droplets are very small. Their mean diameter is typically only 10-15 micron

แปลออกมาก็คือ

เมฆ หมอก และละอองน้ำในอากาศมีขนาดเล็กมาก โดยเฉลี่ยมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 10-15 ไมครอน

อ่าว ถ้าขนาดของหมอกและฝุ่นตัวร้ายใกล้เคียงกันแบบนี้ แปลว่าถ้าเจ้าเครื่องตรวจจับ PM2.5 ตรวจเจอหมอก เลขที่มันคำนวณได้ก็จะต้องสูงขึ้นด้วยน่ะสินะ


ก็ในเมื่อเครื่องตรวจจับ PM2.5 มันบอกเราได้ว่า ขณะนี้บริเวณที่เครื่องนี้ทำงานอยู่ มีอนุภาคขนาด PM2.5 หรือ PM10 อยู่เยอะ แต่มันไม่ได้บอกเราว่าอนุภาคนั้นคืออะไร มันคือฝุ่นละเอียด ควันพิษ หรือมันคือหมอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ...


เรื่องที่เราสงสัยกันมาในตอนต้นมันเริ่มจะชัดขึ้นแล้ว ว่าทำไมค่า PM2.5 มันมา ๆ หาย ๆ ทำไมมันมักจะมาในเวลาเช้า ทำไมหน้าหนาวถึงมาบ่อยกว่าฤดูอื่น


ใครที่ยังไม่แน่ใจว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น กลับขึ้นไปอ่านอีกทีนะครับ

 

วางเรื่องวิชาการ แวะเล่นแป๊บ


ด้วยความที่อยากรู้ว่าทฤษฏีนี้ถูกต้องจริงหรือไม่ เจ้าเครื่องตรวจจับ PM2.5 มันแยกไม่ออกระหว่างฝุ่นร้ายกับหมอกจริงหรือเปล่า เราจะทดลองเอาไปตรวจจับหมอกกันดู


ว่าแต่ ที่ไหนที่เราจะสร้างหมอกได้นะ

  • ความชื้นสูง - อากาศบ้านเรามีให้อยู่แล้ว

  • ความเย็น - หาได้จากที่ไหนนะ ...คิด คิด คิด

ตู้เย็นไง!


ใครที่มีเครื่องวัด PM2.5 อยู่กับตัว ลองเล่นแบบนี้ดูครับ

  • เปิดเครื่องวัด PM2.5 ของคุณไว้ให้พร้อม

  • ถ่ายรูป ณ อุณหภูมิห้องก่อน

  • จากนั้นเปิดช่องฟรีซออกมาเอาเครื่องของคุณไปตั้งไว้ เมื่อความเย็นปะทะกับความชื้นนอกตู้เย็นคุณจะได้ไอเย็นหรือหมอกของเรานั่นเอง

  • ถ่ายรูปเครื่องวัด PM2.5 ของคุณเพื่อดูสิว่าไอเย็นจากตู้เย็นของคุณมีความเป็นพิษแค่ไหน 🤣

  • เอามาอวดกันได้ในคอมเมนท์ข้างล่างนี้เลย

ของผมได้ตามรูปข้างล่างนี้ครับ

เครื่องวัด PM2.5 วัดได้ 517 ที่หน้าช่องฟรีซ
เครื่องวัด PM2.5 วัดได้ 517 ที่หน้าช่องฟรีซ

แวะเล่นกันเสร็จแล้ว กลับไปเรียนกันต่อนะครับ

 

ตัวเลขในแอพมือถือ ไม่เหมือนกับการที่เราถือปรอทวัดอุณหภูมิ


เมื่อเราเข้าใจหลักการทำงานของเครื่องตรวจจับ PM2.5 แล้ว ทำให้เรารู้แล้วว่ามันแยกไม่ออกระหว่างฝุ่นละเอียดกับหมอก เรายังบอกได้อีกด้วยว่ามันตรวจวัดได้เฉพาะอากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเครื่องเท่านั้น - นั่นบอกอะไรเรา?


ก่อนอื่นลองแวะถามกันก่อนว่า ตัวเลข AQI ที่เราเห็นในแอพบนมือถือมาจากไหน? ในเมื่อมือถือของเราไม่ใช่เครื่องตรวจวัด PM2.5 โดยกำเนิด - มันไม่มีพัดลมดูดตัวอย่างอากาศเข้ามาตรวจ มันไม่มีเลเซอร์และตัวรับเลเซอร์ที่จะเอาการกระเจิงแสงมาคำนวณความหนาแน่นของอนุภาคในอากาศ...


ไม่ว่าคุณจะเช็คค่า AQI ผ่านแอพหรือจากบนเวป ค่าที่คุณเห็นมันมาจากเซ็นเซอร์ที่อยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ รอบกรุง เซ็นเซอร์เหล่านี้ส่งค่าไปยังเวปหรือแอพ และมือถือของคุณก็ต่ออินเตอร์เนตเข้าไปดูว่าค่า AQI ณ ตำแหน่งที่คุณสนใจคืออะไร


อาจจะฟังดูเข้าใจยาก แต่ประเด็นของเรื่องนี้คือ มือถือของคุณไม่ได้บอกค่า AQI ณ จุดที่คุณหายใจอยู่ แต่มันบอกค่าที่เซ็นเซอร์ ณ ตำแหน่งนั้น ๆ วัดได้ ทำให้เกิดความคลาดคลื่อนทางระยะทางสูงมาก มันไม่เหมือนกับการที่เราถือปรอทวัดอุณหภูมิด้วยตนเอง - ค่าที่เราเห็นจากปรอท คืออุณหภูมิ ณ จุดที่เราถือปรอทอยู่จริง ๆ


หากยังคงเข้าใจยาก ขอแนะนำให้ดูค่า AQI ที่บริเวณอโศกจากแอพในมือถือ และลองถือเครื่องวัด PM2.5 เดินไปให้ทั่วบริเวณอโศก และดูสิว่าค่ามันเท่ากันหรือไม่

 

สรุปแล้ว เราควรจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร


แม้เครื่องตรวจจับ PM2.5 จะไม่สามารถบอกได้ว่าฝุ่นหรือหมอก แต่คุณมีสิทธิเลือกว่าอยากจะเชื่ออะไร


หลายคนเลือกไปแล้ว ว่าจะเชื่ออะไร ดังนั้น บทความนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนใจเขาได้


แต่ผม หนึ่งในทีมงาน REAL MAN เราเลือกที่จะใช้ชีวิตด้วยความหวัง มากกว่าความหวาดกลัว เราเลือกที่จะเชื่อว่ามีเรื่องดี ๆ รอเราอยู่ในทุกวัน มากกว่ากังวลว่าจะมีเรื่องร้าย ๆ เกิดขึ้นกับฉัน


วันนี้เมื่อ 10 ปีก่อน ไม่มีเรื่องนี้อยู่ในกระแสสังคม ไม่มีเครื่องตรวจจับ PM2.5 ไม่มีเวป ไม่มีแอพคอยบอก ค่า AQI - เราในวันนั้นกลัวเรื่องนี้ไหม


วันนี้ เรามีเรื่องนี้เข้ามาในกระแสสังคม มีข้อมูลทุกอย่างที่อาจจะใช่หรือไม่ใช่ข้อเท็จจริง มีค่า AQI ที่บอกได้ไม่ชัดเจนว่าเป็นฝุ่นละเอียดหรือหมอก เราจะกลัวเรื่องนี้ไหม เป็นทางเลือกของเรา


อะไรน่ากลัวกว่ากัน ระหว่างตัวเลขที่บอกไม่ได้ว่าแปลว่าอะไรแน่ กับความวิตกกังวลในใจเราเอง?


ผมคนหนึ่งที่ขอหายใจให้เต็มปอดก่อนละครับ


Be a REAL MAN


#ชายไทยไม่ดราม่า #AQI #PM25 #PM10 #ฝุ่นPM25


 

มุมเนิร์ด


สำหรับคนที่อยากรู้ว่า แล้วเมื่อไหร่เราควรจะเริ่มกังวลว่ารอบตัวเรามีฝุ่นละเอียดที่เป็นพิษอยู่จริงหรือเปล่า มันไม่ใช่หมอกแล้ว มันคือฝุ่นร้ายแน่ ๆ ลองงานวิจัยจากปักกิ่ง (ต้นกำเนิดเรื่องกังวลใจ PM2.5 ในบ้านเรา) ว่าสภาพที่อากาศเป็นพิษจริง ๆ มีลักษณะเป็นอย่างไร และเขาจัดการให้มันหายไปอย่างเป็นระบบอย่างไร

 

References:

Comments


bottom of page